มหาวิทยาลัยมบูรพา ผลิตตู้ความดันลบ โดยมี”กลุ่มช่วยกัน”มอบเงินสนับสนุน สู้ Covid-19
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมี รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย อธิการบดีการบริหารและการสื่อสารองค์กร และ ผศ.ดร.ณยศ คุรุกิจโกศล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.กฤษนัยน์ เจริญจิตร คณบดีคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ตัวแทนคณาจารย์และเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับมอบเงินสนับสนุน จาก “กลุ่มช่วยกัน” โดยมีทาง คุณกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ หนึ่งในพันธมิตร ได้เป็นตัวแทน มอบเงินสนับสนุน ให้แก่ทางมหาวิทยาลัยบูรพา
เนื่องด้วย มหาวิทยาลัยบูรพาได้ ผลิตตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) แบบชั่วคราวสำหรับใช้ครอบเตียงผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 มีขนาด 1.9×2.6×2.2 เมตร มี 2 แบบ คือ แบบมีและไม่มี Anteroom สร้างความดันลบไม่น้อยกว่า 2.5 Pa อัตราการเปลี่ยนลมไม่น้อยกว่า 12 เท่า ของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง ระบบการกรองอากาศด้วยแผ่นกรอง HEDPA H14 ตามมาตรฐาน EN1822 กรองอนุภาคระดับ 0.3 µm ได้ 99.995% และฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C และจะส่งมอบให้กับโรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงพยาบาลรัฐฯในภาคตะวันออกต่อไป
นอกจากนี้ คุณกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ ตัวแทน “กลุ่มช่วยกัน” และยังได้รณรงค์และให้ข้อมูล แอพลิเคชั่น “หมอชนะ” ที่ทางกลุ่มช่วยกัน พันธมิตร และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรอง แอพลิเคชั่น “หมอชนะ” เป็นเครื่องมือเก็บค่าตำแหน่งพิกัดการเดินทาง แบบไม่ระบุตัวตนเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและเก็บข้อมูลไว้อย่างปลอดภัย ระบบจะมีข้อมูลการเดินทางและวิเคราะห์ข้อมูลจากการพบปะหรือเข้าใกล้กับคนอื่น โดยมีการรายงานผลเป็นค่าสีต่างๆ แบบ Real Time ทำให้ผู้ใช้รู้ความเสี่ยงของตัวเอง มีระบบเตือนความเสี่ยง มีการให้ข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เชื่อถือได้ จึงเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ใช้ ผู้ใกล้ชิดและบุคลากรทางการแพทย์ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
ในสถานการณ์ที่เรามีการควบคุมแบบผ่อนปรน โดยมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ตอบรับในการประยุกต์ เทคโนโลยีโมบายแอพลิเคชั่นและระบบกำหนดตำแหน่งพิกัด (GNSS) รณรงค์ให้นิสิต คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ต่างๆในมหาวิทยาลัยบูรพา ให้ติดตั้งแอพลิเคชั่น “หมอชนะ” นิสิต คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ต่างๆ เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีขาว (Clean-Campus) ที่มีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการสถานการณ์ Covid-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ